การออกแบบสร้างสรรค์งานแต่ละงานให้มีความสวยงาม และสมบูรณ์แบบได้นั้น ต้องมีหลายองค์ประกอบด้วยกันไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการใช้สี หรือการจัดองค์ประกอบภาพ ซึ่งวันนี้แอดจึงได้หยิบหนึ่งในเทคนิคที่จะทำให้งานออกแบบของทุกคนออกมาสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น เทคนิคนั้นก็คือ “ระบบกริด (Grid System)” นั้นเอง
กริด (Grid) คือ เส้นหลาย ๆ เส้นที่ถูกวาดไว้ให้เป็นตารางสี่เหลี่ยม หรือที่หลายคนเคยเห็นกันในกล้องโทรศัพท์สมาร์ทโฟนทั่วไปนั้นเอง ซึ่งความพิเศษของมันคือจะช่วยให้เราจัดวางรูปแบบการออกแบบให้มีขอบเขต มีความเป็นระเบียบ และมีความสวยงามเป็นที่เป็นทางมากขึ้น หรือเรียกง่าย ๆ ก็คือ ทำให้งานของเราดูง่ายขึ้น
ระบบกริด (Grid System) คือ เจ้ากริดนั้นแหละ แต่นำมาดัดแปลงให้เป็นแม่แบบของงานออกแบบ เพื่อที่จะทำให้งานออกแบบนั้นออกมาดูสวยงาม มีความต่อเนื่อง และเป็นระเบียบมากขึ้น ซึ่งระบบกริดบนโลกนี้นั้น มีอยู่ 4 ประเภทด้วยกัน และทั้ง 4 ประเภทนี้ทุกคนก็สามารถดัดแปลงให้เข้ากับงานตัวเองได้เช่นกัน เพราะเจ้าระบบกริดนี้ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นแม่แบบในการออกแบบเท่านั้นน้าา
ระบบกริดทั้ง 4 ประเภทนั้นจะมีอะไรกันบ้าง และแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกันยังไงนั้น แอดได้ทำการสรุปมาให้เรียบร้อย พร้อมยอกตัวอย่างให้ดูกันคร่าว ๆ ด้วย จะเป็นยังไงนั้น เชิญชมกันได้เลยจ้าาา
1. Manuscript grid (เมนูสคริปต์กริด)
ถือว่าเป็นระบบกริดที่มีโครงสร้างที่เรียบง่ายที่สุด จะเห็นได้ว่ามันจะประกอบด้วยบล็อกใหญ่เพียงบล็อกเดียว หรือเรียกอีกชื่อว่า บล็อกกริด (Block grid) นั้นเอง ซึ่งเจ้าระบบเมนูสคริปต์กริดเนี่ย จะเหมาะสำหรับงานที่เน้นให้เห็นถึงภาพใหญ่เพียงภาพเดียว หรือการวางตัวหนังสือให้ดูใหญ่ ๆ สไตล์มินิมอลนั้นเองจ้า
2. Column grid (คอลัมน์กริด)
เป็นระบบกริดที่มีรูปแบบที่มีมากกว่า 1 คอลัมน์ในหน้าเดียว โดยส่วนใหญ่จะแบ่งคอลัมน์ด้วยการวาดให้มีความสูงเต็มหน้ากระดาษ จะเหมาะสำหรับงานที่อยากให้คนอ่านง่าย และดูเป็นระเบียบ
3. Modular grid โมดูลาร์กริด
เป็นระบบกริดที่ประกอบด้วยโมดูลหลาย ๆ โมดูลซึ่งเจ้าโมดูลเกิดจากการตีเส้นแนวตั้ง และแนวนอนตัดกันหลายๆ ช่อง โมดูลาร์กริดเป็นรูปแบบที่สามารถนำไปจัดเลย์เอาท์ได้หลากหลาย ด้วยความที่มันมีหลายช่องจึงเหมาะสำหรับงานสิ่งพิมพ์ที่ต้องการรูปแบบที่ปรับเปลี่ยนง่ายเมื่อมีการจัดทำเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
4. Hierarchical grid
ไฮราซิคัลกริด เป็นระบบกริดที่มีความซับซ้อนที่สุดเลยก็ว่าได้ ซึ่งหน้าตาของมันจะคล้ายกับโมดูลาร์กริดเลยคือการนำช่องมาวางเรียงกัน แต่ความแตกต่างคือช่องที่ว่านั้นจะมีขนาดเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน และยังทับซ้อนกันได้ตามความต้องการอีกด้วย ซึ่งเจ้าไฮราซิคัลดริดจะเหมาะกับงานที่ต้องการความเป็นอิสระมาก ๆ เช่นพวกโปสเตอร์หนัง หน้าปกนิตยาสาร หรืออะไรที่เป็นการอ่านหน้าเดียวแล้วรู้เรื่อง เป็นต้น
เห็นแบบนี้แล้ว ทุกคนก็สามารถนำไปปรับใช้กับงานของตัวเองได้ตามเหมาะสมเลยน้าา
Leave A Comment
You must be logged in to post a comment.